
แนะนำ คณะครุศาสตร์ การจัดการเรียนการสอน ในแต่ละมหาวิทยาลัย ก็อาจจะมีแตกต่างกันบ้าง เล็กน้อยแต่ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือสาขาวิชา เช่น สาขาปฐมวัย (สอนเด็กอนุบาล) สาขาประถม(แล้วแยกออกไปว่าจะสอนวิชาเอกอะไร) สาขามัธยม (แล้วก็แยกออกไปว่าจะเรียนเอกการสอนวิชาอะไร) สาขา การศึกษานอกระบบ (เป็นครูสอน กศน.)แล้วก็มีสาขาอื่นๆอีกที่เป็นวิชาเสริม ที่ไม่ใช่วิชาการ เช่น พลศึกษา สุขศึกษาคหกรรมศาสตร์ศึกษา ธุรกิจศึกษา เกษตรกรรม เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว เป็นต้น
การเรียน ตอนนี้เป็นหลักสูตรใหม่ รุ่นที่ 2 จะเรียน 5 ปี ปี1 จะเรียนวิชาพื้นฐานพอปี2 -4 ก็จะเรียนวิชา เกี่ยวกับ ครู และวิชาอื่นๆที่จำเป็น เช่น จิตวิทยาต่างๆ พอปี5 จะออกฝึกสอนทั้งปี และจะมีการทำรายงานประมาณเกือบจะเป็นวิจัยอีกด้วย
คณะนี้ มุ่นเน้นผลิตบัณทิต ให้จบมาเป็นครู ฉะนั้นแล้ว เรียนมา 5 ปี ก็ควรที่จะเป็นครู เป็นครูได้ทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือเอกชน
แนะนำ คณะครุศาสตร์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นศาสตร์ทางด้านการศึกษา และ วิชาทางด้านครู แต่คณะเราก็ไม่ได้เรียนวิชาครูอย่างเดียวนะครับน้องๆบางวิชาก็ค่อนข้างเน้นหนักไปในทางการพัฒนาสังคมและชุมชนทั้งนี้แล้วขึ้นอยู่กับสาขาวิชาเอกด้วย สำหรับพี่ขอแนะนำคณะครุศาสตร์ ซึ่งผลิตบุคลากรทางการศึกษามารับใช้สังคม อย่างมีคุณภาพตลอด คณะเรามีหลากหลายภาควิชา และแต่ละภาควิชาก็มีสาขาแยกย่อยลงไปอีกดังจะกล่าวคร่าวๆดังนี้
1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ดูแลเด็กระดับอนุบาลจนถึงก่อนประถมศึกษา เป็นสาขาวิชาที่สนุกสนานมากๆ พี่ๆบอกว่ามีการสอนเด็กเล็ก เล่นกับเด็ก ดูแลเด็ก สรุปแล้วรักเด็กไงจ้ะ สาขานี้มีผู้หญิงเยอะมาก ผู้ชายแทบหาไม่ได้เลย (สาวๆแผนกนี้น่ารัก และสดใสเหมือนเด็กอนุบาลไง)
2. สาขาวิชาประถมศึกษา ก็สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ไง มีหลายเอก ประมาณ 5 เอกนะ คือ ไทย สังคม อังกฤษ วิทย์ คณิต สาขานี้ก็เรียนค่อนข้างหนักนะ เพราะเรียนถึง 3 เอกแน่ะ คือ
เอกประถม/ไทย/สังคม อะไรประมาณเนี้ย ขึ้นอยู่กับการสอบเอนทรานซ์เข้ามาและจะเลือกสาขาวิชาอะไร แผนกนี้ก็สนุกสนาน เฮฮาดี สมกับครูประถมนะจ้ะ
3. สาขามัธยมศึกษา
3.1 มัธยมศึกษา(วิทยาศาสตร์) ก็พวกเอก คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และอีกหลายเอกที่เป็นวิทยาศาสตร์
3.2 มัธยมศึกษา(มนุษย์/สังคม) เอก ไทย สังคม อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จิตวิทยา ฯลฯ ทั้งมัธยมวิทย์/ศิลป์ จะเรียนค่อนข้างลึก และหนัก สำหรับมัธยมวิทย์ เรียนหนักมากๆ แต่พี่ๆก็บอกว่าไม่ยากเท่าไรหรอก ถ้าขยันซะอย่าง
4. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน แผนกนี้เรียนเกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นครู ทำงานได้ทุกอย่างเพราะหลักสูตรนั้นกว้างและยืดหยุ่นมากๆ
5. สาขาการสอนวิชาเฉพาะ
1. ดนตรีศึกษา ก็เรียนดนตรีนั่นเอง
2. ศิลปศึกษา เรียนศิลปะ Art
3. ธุรกิจศึกษา
สำหรับดนตรีกับศิลปะ ก็จะเน้นการปฏิบัติจริงนะจ้ะ เป็นไงพอจะเข้าใจป่ะ ว่าคณะครุศาสตร์ของเรามีอะไรบ้าง ใครที่รักจะเป็นครูก็เลือกเข้ามาเลยนะ
คณะจิตวิทยา
จิตวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และกระบวนการทางจิต โดยการศึกษาพฤติกรรมของคนเรามีทั้งที่สังเกตง่ายๆ และพฤติกรรมที่ซับซ้อนได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย เพื่อค้นหาสาเหตุและทำความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์ คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในบริบทต่างๆ เช่น เหตุใดวัยรุ่นจึงมีอารมณ์รุนแรง หรือเหตุใดพนักงานจึงไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการทำงาน หรือ ทำไมคนแต่ละคนจึงมีความอดทนต่อปัญหาได้แตกต่างกัน เหล่านี้เป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยา ในการศึกษา “พฤติกรรมและจิตของมนุษย์”
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. มีความรอบรู้ด้านจิตวิทยา สามรถวิเคราะห์และแก้ไข ปัญหาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. สามารถนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการพัฒนาการประเทศ
3. มีศักยภาพในการค้นคว้าและติดตามความเจริญก้าวหน้า ทางวิชาการระดับสากล มีความใฝ่รู้ มีทักษะในการสื่อสารจัดการ การเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามในการทำงาน
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา เป็นหลักสูตรปริญญาตรี ได้เปิดการเรียนการสอนขึ้นในคณะจิตวิทยา ปี
การศึกษา 2544 ด้วยโครงสร้างหลักสูตรที่มีลักษณะกว้างสำหรับผู้ที่ต้องการเลือกเรียนจิตวิทยาเฉพาะทาง โดยหลักสูตรได้จัดให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกกลุ่มรายวิชาที่เน้นหนักทางด้าน
– จิตวิทยาทั่วไป – จิตวิทยาการปรึกษา และคลินิก
– จิตวิทยาสังคม – จิตวิทยาพัฒนาการ
– จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ – จิตวิทยาชุมชน
นอกจากนี้ หลักสูตรยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกวิชาโทจากต่างคณะได้ เพื่อให้เกิดการผสมผสานศาสตร์ทางจิตวิทยากับศาสตร์อื่น ซึ่งจะทำให้เกิดการประยุกต์ในวงกว้าง
คำถามที่มักพบเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของจิตวิทยา
จิตวิทยาเรียนจบแล้วไปทำอะไรได้บ้าง
1. เป็นนักจิตวิทยาในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหามนุษย์ เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน
2. บุคลากรด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน
นักจิตวิทยาต่างจากจิตแพทย์อย่างไร
นักจิตวิทยา คือผู้ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ อันครอบคลุมทั้งพฤติกรรมปกติทั่วไปของผู้ที่มีสุขภาพจิตปกติสมบูรณ์ และพฤติกรรมของผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตไม่ปกตินั้น นักจิตวิทยาจะเน้นการให้คำปรึกษา หรือการใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมด้วยกระบวนการทางจิตวิทยาแก่ผู้มารับคำปรึกษาหรือบำบัดทางจิตใจ ในขณะที่จิตแพทย์จะเน้นการใช้ยาในการรักษาความผิดปกติทางจิตของคนไข้เป็นหลัก
ด้วยความรู้ทางจิตวิทยาในด้านต่างๆ และความรู้ที่กว้างขวางที่เลือกได้ตามความสนใจ ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร จะสามารถเลือกสาขาวิชาเฉพาะสำหรับศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น รวมทั้งเลือกประกอบอาชีพตามความรู้ความเข้าใจ แก้ไขปัญหา และพัฒนามนุษย์ด้วยหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
คณะทันตแพทยศาสตร์
ทันตแพทย์ หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ “หมอฟัน” เป็นการศึกษาในเรื่องของฟัน อวัยวะในช่องปากและอวัยวะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยออกเสียงและส่งเสริมบุคลิกภาพ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย วางแผน และบำบัดรักษาโรคในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบูรณะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรคฟันผุแก่ชุมชน เผยแพร่ความรู้ทางทันตสุขศึกษาและทำการวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์
หลักสูตร
ใช้เวลาศึกษา 6 ปี โดยแบ่งออกเป็นภาควิชา คือ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีวเคมี ชีววิทยาช่องปาก ชีววิทยาช่องปาก ชีววิทยาของเซลล์และเนื้อเยื่อ จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา ทันตพยาธิวิทยา ทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตกรรมจัดฟัน เวชศาสตร์ในช่องปาก ศัลยกรรมช่องปาก ทันตกรรมบูรณะ ทันตสาธารณสุข ทันตกรรมป้องกัน ทันตกรรมอนุรักษ์ โอษฐวิทยา ทันตกรรมหัตถการเกี่ยวกับวิธีรักษารากฟันและอุดฟัน รังสีวิทยาเกี่ยวกับการเอกซเรย์ของฟันและในช่องปาก ศัลยศาสตร์-ถอนฟัน และการผ่าตัดที่เกี่ยวกับบนใบหน้า ทันตกรรมสำหรับเด็กเกี่ยวกับสภาพฟันต่างๆของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ปริทันตวิทยาเกี่ยวกับการรักษาเหงือก และทันตกรรมชุมชนที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถรับใช้สังคมในชนบทโดยทำงานในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆได้
1.ในชั้นปีที่ 1-2 จะเรียนเตรียมทันตแพทย์ที่คณะวิทยาศาสตร์ โดยเรียนวิชาในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2.ในชั้นปีที่ 3-4 เรียนในภาควิชาปรีคลินิก เกี่ยวกับวิชาการในวิชาชีพทันตแพทย์อันเป็นพื้นฐานของวิชาแพทย์ทั่วไป
3.ในชั้นปีที่ 5-6 จะเรียนด้านภาคคลินิกที่เน้นหนักในทางปฏิบัติงานคลินิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจบำบัดรักษาทางทันตกรรม การส่งเสริมและป้องกันโรคของฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปาก เป็นต้น ซึ่งต้องปฏิบัติกับผู้ป่วยทางคลินิกในโรงพาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อเรียนถึงชั้นปีที่ 6 นักศึกษาต้องพร้อมในการออกปฏิบัติงานอย่างเต็มตัว โดยต้องรับราชการชดใช้รัฐบาลตามสัญญาและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
4.เมื่อบัณฑิตได้ขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลป์สาขาทันตกรรมแล้ว ก็จะสามารถประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ได้
ลักษณะของอาชีพนี้
หมอฟันจะเป็นผู้ที่ทำการรักษาโรคฟัน ความผิดปกติของฟัน และช่องปากด้วยกรรมวิธี โดยการให้ยา หรือการศัลยกรรมซึ่งขึ้นอยู่ที่ความจำเป็นว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น
– ใช้เครื่องเอกซเรย์ทดสอบตามความจำเป็น เพื่อจะได้ทราบถึงลักษณะของความผิดปกติ
– พิจารณาผลของการตรวจ การทดสอบและเลือกวิธีรักษา
– หารูฟันผุ ทำความสะอาด อุดรูฟัน และถอนฟันที่เป็นโรคหรือฟันที่ไม่มีประโยชน์แล้ว
– พิมพ์และจำลองแบบของเหงือก และส่วนอื่นๆของปาก เพื่อใช้ในการประดิษฐ์ใส่ฟันปลอมซ่อมฟันปลอมทั้งชนิดที่เป็น
ซี่และทั้งปาก
– ใส่เครื่องยึดเพื่อจัดฟันที่มีลักษณะผิดปกติหรือเกให้เป็นระเบียบและสวยงาม
– ให้ยาชาหรือยาสลบตามความจำเป็นในการรักษา การดัดฟัน การตัด รากฟันกระดูกขากรรไกรและใบหน้า คลินิกการ
ถอนฟัน และศัลยศาสตร์ในช่องปาก
– ให้ยาชาหรือยาสลบตามความจำเป็นในการรักษา การดัดฟัน การตัด รากฟันกระดูกขากรรไกรและใบหน้า คลินิกการ
ถอนฟัน และศัลยศาสตร์ในช่องปาก
คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้
– ผู้เรียนต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและต้องมีความมานะอดทน เพื่อการเรียนรู้อยู่ในห้องเรียน ห้องสมุด และห้องแล็บตลอดเวลาจึงจะเรียนได้ดี
– การเรียนคณะนี้ต้องเน้นหนักความถนัดโดยเฉพาะความชำนาญในการใช้เครื่องมือ เช่น ในการประดิษฐ์ ตกแต่ง บูรณะฟันที่สึกหรอ เป็นรู เป็นโพรง หรือหักถอนถือได้ว่างานทางทันตแพทย์เป็นงานประเภทฝีมือที่ละเอียดอ่อนประเภทหนึ่ง
– ผู้เรียนควรมีสุขภาพดี แข็งแรงสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพดีรู้หลักจิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
– ผู้เรียนควรเป็นผู้ที่มีฐานทางการเงินดี เพราะการเรียนต้องใช้เวลาเรียนหลายปีและในการเรียนนั้นจะมีค่าใช้จ่ายมากมายในด้านอุปกรณ์การเรียน ค่ากิจกรรม ค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว รวมทั้งต้องจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างเพื่อเป็นอุปกรณ์การศึกษาของตน
แนวทางในการประกอบอาชีพ
– เป็นอาจารย์สอนและวิจัยในคณะทันตแพทยศาสตร์
– ประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายเครื่องมือทันตแพทย์
– ทำงานด้านวิจัยในปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและโรคในช่องปาก
– เป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาล อนามัย หรือ คลินิกทั้งของรัฐและเอกชน
– ประกอบอาชีพอิสระในการตั้งคลินิกรักษาหรือโรงพยาบาลเอกชน
คณะนิติศาสตร์
นิติศาสตร์คือการศึกษากฎเกณฑ์ความประพฤติของบุคคลที่อยู่รวมกันในสังคมที่เรียกว่า “กฎหมาย” การศึกษานิติศาสตร์จะมีสาระหลักๆ คือ
1. นิติศาสตร์จะศึกษาทฤษฎี แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับสาระของกฎหมายในส่วนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในการติดต่อทางธุรกิจทุกปนะเภท รวมตลอดจนหลักแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐและหน่วยงานของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในสังคมนานาชาติ
2. นิติศาสตร์มุ่งศึกษาบทบาทของกฎหมาย ทั้งในฐานะที่เป็นกรอบกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐมิให้ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3. นิติศาสตร์ต้องให้ความสำคัญต่อคุณค่าเชิงคุณธรรมของกฎหมายด้วย เพราะกฎหมายมีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม ดังนั้นจึงเน้นที่กระบวนการของกฎหมายว่า “บริสุทธิ์” และต้องมีความ “ยุติธรรม” ด้วย
หลักสูตร
จะใช้เวลาศึกษา 4 ปี ประกอบด้วยหมวดวิชาต่อไปนี้
1. วิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในกลุ่มสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาษา และ
สหศาสตร์
2. วิชาเฉพาะด้าน วิชาที่จะต้องศึกษา เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายนิติกรรมสัญญา กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายภาษีอากรและกฎหมายระหว่างประเทศ
3. วิชาเลือก เป็นวิชาที่เปิดสอนในคณะนิติศาสตร์ เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายการธนาคาร และกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน
เมื่อจบต้องสมัครเข้ารับการฝึกอบรมและสอบขอใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักร การแสวงหาประสบการณ์ในคดีความต่างๆหรือการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิตทางกฎหมายจะช่วยให้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมากขึ้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
– รักการอ่าน การค้นคว้า มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆกว้างขวาง
– ช่างคิด และมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น
– มีความสามารถในการเขียนและใช้ภาษาไทยเนอย่างดี
– มีนิสัยรักความเป็นธรรม
สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
– เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
– ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียและไม่เป็นผู้ที่ทำการใดๆซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจ
– มีประสบการณ์ในงานตุลาการทางกฎหมาย
– ต้องซื่อสัตย์ต่อผู้ว่าจ้าง มีความซื่อตรงและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ในสาขานี้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพและสามารถเข้ารับราชการได้ในทุกกระทรวง เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน ตำรวจ นายทหารพระธรรมนูญ นิติกร ปลัดอำเภอ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ตั้งสำนักทนายความและสามารถศึกษาต่อในสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อสอบเป็นเนติบัณฑิตไทย ในระดับสูงขึ้นต่อไป
คณะนิเทศศาสตร์
คณะนี้จะเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับการสื่อสารทุกประเภท ทุกระดับ ไปยังบุคคลหรือมวลชนด้วยการใช้เทคนิควิชาการ เพื่อช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแยกเป็นสาขาต่างๆ
หลักสูตร
จะใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี จะเน้นทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
1. สาขาวารสารสนเทศ จะเน้นหนักเกี่ยวกับวิทยาการและเทคโนโลยีข่าวสาร เช่น การสื่อข่าว เขียนข่าว การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆรวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เนต การรายงานข่าวผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการออกแบบการนำเสนอผ่านสื่อพิมพ์อื่นๆ เช่น แผ่นปลิว โปสเตอร์ เป็นต้น
2. สาขาวิทยุและโทรทัศน์ ศึกษาทฤษฎีแนวคิด กระบวนการของการส่งข่าวสารหรือสื่อความหมายต่างๆโดนทางสื่อกระจายเสียงและโทรทัศน์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประกาศ การแสดง การเขียนบท การผลิตรายการวิทยุ การบริหารงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกฝนการผลิตรายการวิทยุจากห้องบันทึกเสียง ทั้งรายงานข่าว สารคดี ละคร ดนตรี
3. สาขาภาพยนตร์และภาพนิ่ง ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ศิลปะ และการสื่อความหมายของภาพนิ่งและภาพยนตร์ ผู้ศึกษาในสาขานี้จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์จากจินตนาการที่มีอยู่ผลิตภาพยนตร์ที่ทันสมัย นอกจากนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาพนิ่ง การใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพ และการขยายภาพในห้องแล็บด้วยตนเอง
4. สาขาโฆษณา ศึกษาการทำงานด้านโฆษณาต่างๆตั้งแต่การสร้างสรรค์และการผลิตสื่อโฆษณา การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การเขียน การวางแผน การรณรงค์เพื่อการโฆษณา ตลอดจนศึกษาถึงบทบาทของการโฆษณาในการตลาด
5. สาขาประชาสัมพันธ์ เน้นหนักเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจอันดี ป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด คงวามขัดแย้ง ส่งเสริมและรักษาภาพลักษณ์ของสถาบัน การจัดการภาวะวิกฤต การหยั่งเสียงประชามติ ประชาพิจารณ์ ตลอดจนการสร้างสรรค์และโน้มน้าวทัศนคติที่ดีแก่ประชาชน
6. สาขาวาทวิทยา/บริหารการสื่อสาร ศึกษาพฤติกรรมการใช้ภาษาในการสื่อสารของมนุษย์ทุกระดับ เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารหน้าที่ชุมชน การสื่อสารในองค์การ การสื่อสารทางธุรกิจ และการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาคณะนี้
– มีความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสารทั้งด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
– มีความสนใจทางด้านศิลปะการสื่อความหมายประเภทต่างๆ
– มีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวาง
– สนใจศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทันต่อเหตุการณ์
– มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลาอยู่เสมอ
– กล้าแสดงออก ช่างสังเกต มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
แนวทางในการประกอบอาชีพ
เมื่อจบในสาขาเหล่านี้สามารถทำงานในสายงานโดยตรงหรือสาขาที่เกี่ยวข้องได้ ที่เน้นหนักในด้านการผลิตเอกสาร ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ นักประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจสมาคมต่างๆ เป็นผู้วางแผนการใช้สื่อและเป็นนักโฆษณาในส่วนของสายงานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยอาชีพที่จะต้องใช้การพูด การสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก
แนะนำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประกอบด้วย 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาบัญชี ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน ภาควิชาสถิติ และภาควิชาการตลาด
ภาควิชาการบัญชี ผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่ธุรกิจในประเทศไทยเกี่ยวกับการออกรายงานทางการเงิน การจัดการบัญชี และการตรวจสอบ ภาควิชาได้ร่วมมือกับ IIA (Institute of Internal Auditors) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ มีหน้าที่ในการให้การศึกษาและการวิจัยทางด้านการจัดการ ภาควิชามีความมุ่งหวังที่จะให้บัณฑิตของภาควิชามีความรู้กว้างไกลในทุกด้านของการจัดการ ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการองค์ความรู้ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และระบบสารสนเทศทางการจัดการ
ภาควิชาสถิติ มีบทบาทในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ที่ก้าวหน้าทางด้านกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ ภาควิชาฝึกฝนเพื่อให้ได้บัณฑิต นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านประกัน และนักเทคโนโลยีสารสนเทศรุ่นใหม่ การผสมผสานของศาสตร์ทางด้านสถิติ ประกัน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศ และช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรมีเครื่องมือที่ให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
ภาควิชาการธนาคารและการเงิน ได้ทุ่มเทในการจัดหาเครื่องมือทางการเงินที่ทันสมัย และผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการเติบโตของตลาดการเงินของโลก นิสิตจะต้องเรียนรู้ทั้งเทคโนโลยีและหลักการทางด้านการเงินที่จะช่วยให้สามารถก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านการธนาคาร และสภาพแวดล้อมทางการเงินของโลก
ภาควิชาการตลาด มีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความผันผวนของธุรกิจในปัจจุบัน ภาควิชาเน้นการผสมผสานหลักการทางด้านการตลาด การฝึกปฏิบัติ และประสบการณ์จากธุรกิจจริง ซึ่งรวมถึงทฤษฎีใหม่ๆ ทางการตลาด โลจิสติกส์ และการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ภาควิชามีโปรแกรมฝึกงานภาคฤดูร้อน รวมทั้งให้นิสิตเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ ทางด้านการตลาด
แนะนำ คณะแพทยศาสตร์
เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค วินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนส์สัมผัส การแทงเข็ม หรือการฝังเข็มเพื่อการบำบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึกและหมายความรวมถึงการทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสาร การสอดใส่วัตถุใดๆเข้าไปในร่างกายทั้งนี้เพื่อการคุมกำเนิด การเสริมสวยหรือการบำรุงร่างกาย สามารถวางแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชน ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็นและฐานะของผู้ป่วยและสังคม
หลักสูตร
ผู้ที่จะศึกษาต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า 263 หน่วยกิต โดยใช้เวลาศึกษาตามปกติ 6 ปี การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ระยะที่ 1 [Premedical year] ในชั้นปีที่ 1 เป็นการศึกษาวิชาการที่เป็นพื้นฐานของการเป็นแพทย์
2. ระยะที่2 [Preclinical years] ในชั้นปีที่ 2 และ 3 เป็นการศึกษาวิชาชีพพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่การทำงานโดยปกติของร่างกายมนุษย์กับพยาธิสภาพต่างๆอันเป็นพื้นฐานของการเรียนในระดับต่อไป
3. ระยะที่ 3[Clinical years] ในชั้นปีที่ 4 – 6 เป็นการเรียนรู้ความผิดปกติหรือโรคต่างๆทั้งทางกายและจิตใจ โดยมีบูรณาการความรู้จากทฤษฎีกับประสบการณ์ในผู้ป่วยจริง เพื่อให้มีความรู้และทักษะตามเกณฑ์มาตรฐานของแพทยสภา โดยในชั้นปีที่ 6 จะเป็นการฝึกปฏิบัติงานในการตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยตนเอง ภายใต้ความรับผิดชอบของอาจารย์แพทย์
ลักษณะของอาชีพ
1. เป็นแพทย์ฝ่ายรักษา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
– แพทย์ที่ทำหน้าที่รักษาคนไข้ทั่วไป เช่น เป็นไข้หวัด โรคกระเพาะ ท้องเสีย เป็นต้น
– แพทย์เฉพาะทาง รักษาคนไข้ที่มีอาการหนักหรือที่ต้องใช้อุปกรณ์วินิจฉัยพิเศษหรือต้องการแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะโรคนั้นทำการรักษา เช่น มีน้ำในสมอง มะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น โดยเข้าฝึกอบรม 3 ปีเพื่อรับวุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทางของแพทยสภา
2. เป็นแพทย์ฝ่ายวิจัย เป็นนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสถาบันทางการแพทย์ ทำการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นวิทยาการใหม่ๆทางการแพทย์เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติ
– เป็นแพทย์ฝ่ายป้องกัน โดยต้องออกไปปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร เพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคแก่ประชาชนและหาวิธีป้องกันโรคแก่ประชาชนและหาวิธีป้องกันโรคในชุมชนต่างๆ
– เป็นแพทย์ฝ่ายการสอนหรือครูผู้สอน
ลักษณะทั่วไปของอาชีพ
– ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา ผ่าตัดเล็ก รักษาอาการบาดเจ็บ โรค และอาการผิดปกติต่างๆของผู้ป่วย
– ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอกซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
– ทำการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะก่อนคลอด ทำการคลอดและให้การดูแลรักษามารดาและทารกหลังคลอด
– เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง
– อาจผสมยา อาจรับผิดชอบและสั่งงานพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่นดดยจะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือ
สถานพยาบาล โดยตรวจคนไข้ที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกวันและต้องตรวจคนไข้นอกที่เข้ามารับการรักษา
*** ผู้ที่เป็นหมออาจถูกเรียกตัวได้ทุกเวลาเพื่อทำการรักษาคนไข้ให้ทันท่วงที ผู้ที่เป็นหมอต้องพร้อมเสมอที่จะสละเวลาเพื่อรักษาคนไข้ ในที่ทำงานจะต้องพบเห็นคนเจ็บ คนไข้ และคนตาย แพทย์จึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะหากมีจิตใจที่อ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้พบเห็น จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้
คุณสมบัติของผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์
– ความจำ คณะเนี้ยต้องใช้สมองที่มีความจำดีเลิศเลยนะ เพราะการเป็นหมอเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการติดคุกเชียวนะถ้าคุณทำ
ผิดพลาดหรือจำสับสน จำไม่ได้ ในการรักษา(อย่าพึงตกใจในทางตรงกันข้ามอาชีพหมอที่มีความเสี่ยงขนาดนี้จึงเป็นอาชีพที่ผู้คนให้การนับถือในสังคมอย่างมาก)
– เมื่อน้องๆจบคณะนี้มาแล้วต้องสามารถที่จะเสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการเป็น
ป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีความเมตตาและมีความรักในเพื่อนมนุษย์ มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
– มีมนุษยสัมพันธ์ดี ผู้เป็นหมอควรมีการปรับตัวเข้ากับคนทุกระดับได้ มีความสนใจเพื่อนมนุษย์และสังคมรอบตัว
– สุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่ายกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ไม่เป็นโรคตาบอดสี มีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ
อดทน
– รอบคอบ ช่างสังเกต และละเอียดถี่ถ้วนแต่ต้องฉับไว เพราะช้านั้นอาจหมายถึงชีวิตผู้ป่วย
– ซื่อสัตย์ ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือ
ทำลายผู้อื่น
– ฐานะการเงินดีพอสมควร แม้ว่ารัฐบาลจะสนับสนุนการเงินส่วนหนึ่งแล้วก็ตามแต่ในการเรียนจำเป็นจะต้องซื้อตำรา
ต่างประเทศ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
อาชีพแพทย์ถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและเป็นอาชีพที่มีการเสียสละสูง สามารถรับราชการโดยทำงานในโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัย หรือหน่วยงานการแพทย์ของกระทรวง กรม ที่จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชนหรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถเปิดคลินิกส่วนตัวได้ด้วย แนวโน้มของตลาดแรงงานสำหรับอาชีพนี้ยังคงมีอยู่ ดังนั้นแพทย์สามารถหางานได้ง่าย เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดและชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญในตัวเมือง
ความก้าวหน้าในอาชีพ
แพทย์ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูงจะได้เลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับผู้บริหารหรืออาจเปิดคลินิกรักษาคนไข้ทั่วไปนอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถรวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถเปิดโรงพยาบาลได้
แพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง อาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลหลายแห่งทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น
แนะนำ คณะพยาบาลศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสถาปนาเป็นคณะวิชาในอันดับที่ 16 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ คณะฯได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยเป็นภาควิชาพยาบาลศึกษา
ภายใต้การบริหารงานของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดดำเนินการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2510 โดยความร่วมมือระหว่างกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ผลิตครูพยาบาลระดับปริญญาตรี การดำเนินงานในระยะแรกได้รับการช่วยเหลือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่ง สหประชาชาติ (UNICEF) ในด้านอุปกรณ์และทุนพัฒนาอาจารย์
ในปี 2516 ได้เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโท ทางการพยาบาล หลักสูตรแรกในประเทศไทย โดยมีภารกิจหลักคือ การผลิตผู้นำทางพยาบาล ทำหน้าที่ทั้งในสถาบันการศึกษาและ การบริการพยาบาล
ต่อมาภาควิชาได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์อย่างเป็นทางการไปยังทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อรับการพิจารณาจัดให้อยู่ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ.2525 – 2529) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยดำเนินการภายใต้การบริหารของคณะครุศาสตร์และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 239 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2531
คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินกิจการโดยยึดมั่นในพันธกิจ จุดมุ่งหมายและหน้าที่ตลอดมา ได้สืบต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2516 ซึ่งมีการปรับเป็นหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ในปีการศึกษา 2533 และได้เปิดสอนสาขาวิชาการพยาบาลศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 โดยที่คณะพยาบาลศาสตร์ตระหนักถึงการปฎิบัติตามพันธกิจในการเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งผลิตผู้นำทางการพยาบาล บุกเบิก ค้นคว้า ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ทางพยาบาลศาสตร์ในระดับนานาชาติ
เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาการที่มุ่งสู่การพัฒนาสุขภาพประชาชน และเพื่อตอบสนองความต้องการของวิชาชีพในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล คณะฯจึงได้เปิด หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ คือ จัดการเรียนการสอนนอกเวลา ราชการในภาคปลาย ปีการศึกษา 2542 เปิดสอนสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ในภาคต้น ปีการศึกษา 2543 และเปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนใน 5 กลุ่มวิชา คือ การพยาบาลมารดา การพยาบาลเด็ก การพยาบาลผู้ใหญ่ การพยาบาลผู้สูงอายุ และการพยาบาลอนามัยชุมชน ในภาคต้น ปีการศึกษา 2549 และเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2544 สำหรับปีการศึกษา 2546 นี้ คณะฯ ได้ประกาศเปิดรับสมัครหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ในระบบการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible learning) โดยมีศูนย์ที่จังหวัดตรัง และมีนโยบายจะเปิดศูนย์จังหวัดน่าน และศรีสะเกษตามมาในปีการศึกษาต่อไปตามแผนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งาน นักสืบ